1. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะ คณิตสำหรับเด็กต้องเรียนรู้เป็นขั้นตอนและสามารถมีกิจกรรมเข้าแทรกในการเรียนการสอนได้อย่างดีหรือมีการปฏิบัติในการทำกิจรรมต่างๆให้ครบ 6 กิจกรรมหลัก แต่เด็กต้องมีพัฒนาการในการนับตัวเลข 1- 10 ได้ ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรและเด็กบ้างคนอ่านได้ชัดเจนแต่เขียนไม่ได้เป็นส่วนมาก สำหรับเด็กประถมศึกษา คณิตสำหรับเด็กประถมมีพัฒนาการที่รวดเร็วและขั้นตอนการสอนตามแบบแผนของอาจารย์นั้นด้วย ด้านคณิตศาสตร์เด็กจะมีพัฒนาการการคิดได้ดีและมีกิจกรรมให้เด็กร่วมกันทำ แต่การเขียนของเด็กประถมจะเขียนตัวเลขได้สวยและถูกต้อง
2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ 1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กพบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี
3. มีเป้าหมายและวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใสเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนของพัฒนาการ ความคิดรวบยอด
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิม
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก
3. จงเลือกและอธบายสาระทางศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ สาระที่1 การวัด
1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยมาตราฐาน
3. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบนำหนักของสิ่งต่างๆ
4. การตวงของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่หน่วยมาตรฐาน
5.การเรียงลำดับปริมารตรของสิ่งต่งๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
สาระที่ 2 เรขาคณิต
1. ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้งขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
2. การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูปทรง
4. จงอธิบายขั่นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ
แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ
2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้
4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง
5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย
8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น
9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์
10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้
5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ กิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก
วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมการให้ความรู้กับผู้ปกครองส่งเสริมกิจกรรมคณิตศาสตร์สหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมที่ให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งอาจารย์ก็ได้สั่งมานานมากๆแล้ว พอบังเอิญได้ไปเปิดดูสมุดจดการบ้าน แทบตกใจเลย Oh my god พระเจ้าช่วยกล้วยทอด เราลืมงานที่อาจารย์สั่งไปได้อย่างไร
พอดีวันนี้มีโอกาสก็เลยนั่งเซิร์ตๆหาไปเรื่อยๆก็พลันสายตาไปเจอเข้ากับเว็บๆหนึ่ง เป็นหัวข้อเรื่อง คณิตคิดสนุก เริ่มที่บ้าน ถ้าหากสนใจเพิ่มเติมลอง Click เข้าไปดูนะคะ
เนื้อหาโดยทั้งหมดเป็นการบรรยายโดย อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บรรยายพิเศษ เรื่อง "ผู้ปกครองกับการส่งเสริม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน"
เมื่อลองอ่านแล้วมีอยู่ประโยคหนึ่งที่ อาจารย์สุรัชน์กล่าวคือ "คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น"
จากที่อาจารย์กล่าวมานั้นถ้าเราลองคิดดีๆคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งจริงๆ ทั้งในชีวิตประจำด้วย ตั้งแต่เราตื่นนอนจนถึงหลับไปอีกรอบ ก็เป็นคณิตศาสตร์แล้ว ก็คือเรื่องของเวลานั่นเองว่าจะตื่นกี่โมง นอนกี่โมง หรือเรื่องของกลางวัน กลางคืน
อ.สุรัชน์ ยังยกตัวอย่างกิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด
หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยากเพียงกิจกรรมเล็กๆน้อยๆเราก็สามารถทำร่วมกันทั้งพ่อแม่ลูกได้แล้ว แค่การทำอาหารง่ายๆก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปในตัวได้แล้ว ซึ่งกิจกรรมให้ความรู้ปกครองที่กล่าวมานั้น ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ และเพื่อนๆก็อย่าลืมว่า คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งจริงค่ะ วันนี้ก็ขอไว้แค่นี้ก่อนนะคะ จ้ายเจี้ยนค่ะ
พอดีวันนี้มีโอกาสก็เลยนั่งเซิร์ตๆหาไปเรื่อยๆก็พลันสายตาไปเจอเข้ากับเว็บๆหนึ่ง เป็นหัวข้อเรื่อง คณิตคิดสนุก เริ่มที่บ้าน ถ้าหากสนใจเพิ่มเติมลอง Click เข้าไปดูนะคะ
เนื้อหาโดยทั้งหมดเป็นการบรรยายโดย อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บรรยายพิเศษ เรื่อง "ผู้ปกครองกับการส่งเสริม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน"
เมื่อลองอ่านแล้วมีอยู่ประโยคหนึ่งที่ อาจารย์สุรัชน์กล่าวคือ "คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น"
จากที่อาจารย์กล่าวมานั้นถ้าเราลองคิดดีๆคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งจริงๆ ทั้งในชีวิตประจำด้วย ตั้งแต่เราตื่นนอนจนถึงหลับไปอีกรอบ ก็เป็นคณิตศาสตร์แล้ว ก็คือเรื่องของเวลานั่นเองว่าจะตื่นกี่โมง นอนกี่โมง หรือเรื่องของกลางวัน กลางคืน
อ.สุรัชน์ ยังยกตัวอย่างกิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด
หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยากเพียงกิจกรรมเล็กๆน้อยๆเราก็สามารถทำร่วมกันทั้งพ่อแม่ลูกได้แล้ว แค่การทำอาหารง่ายๆก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปในตัวได้แล้ว ซึ่งกิจกรรมให้ความรู้ปกครองที่กล่าวมานั้น ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ และเพื่อนๆก็อย่าลืมว่า คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกแห่งจริงค่ะ วันนี้ก็ขอไว้แค่นี้ก่อนนะคะ จ้ายเจี้ยนค่ะ
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553
สรุปการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย
จากการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดิฉันสามารถบันทึกได้ดังนี้ค่ะจำนวนเช่น การนับจำนวนนับการวัดยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตื้ยกว่า เป็นต้นเรขาคณิตทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้นคณิตศาสตร์ที่ดีมีความสมดุลต่อไปนี้-เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด-เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับกิจกรรม(ชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ เช่น เช้า กลางวัน เย็น)-แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ และลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป-สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
(ครูทำเป็นตัวอย่าง) ครูให้แรงเสริม-ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม-เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคิดศาสตร์ไปพร้อมๆกัน-เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจได้ด้วยตนเอง(ถ้าจัดกิจกรรมให้สอดคล้องจะเกิดประสิทธิภาพ)หลักการสอนคณิตศาสตร์ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กและขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันในชีวิตประจำวันเด็กมีอะไรบ้างในแต่ละวันเช่น ให้เด็กรินนมครึ่งแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเองเช่น หน่วยกล้วย กล้วย 1 หวี มีกี่ลูกให้เด็กนับ และเด็กกัดกี่คำหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์เพื่อใช้ในการวางแผนกิจกรรม(ต้องไม่ใส่ความรูสึกของครูเข้าไป เช่น น้องบีบี เกิดสงสารจึงแบ่งของให้เพื่อน
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็ก
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เกิดประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้เป็น
การจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจและความสามารถของเด็ก-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเช่นแบบสังเกต เป็นต้น
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 1. การนับ2. ตัวเลช3. การจับคู่4. การจัดประเภท5. การเปรียบเทียบ6. การจัดลำดับ7. รูทรงและเนื้อที่8. การวัด9. เซต10. เศษส่วน11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดิฉันสามารถบันทึกได้ดังนี้ค่ะจำนวนเช่น การนับจำนวนนับการวัดยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตื้ยกว่า เป็นต้นเรขาคณิตทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้นคณิตศาสตร์ที่ดีมีความสมดุลต่อไปนี้-เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด-เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับกิจกรรม(ชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ เช่น เช้า กลางวัน เย็น)-แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ และลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป-สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
(ครูทำเป็นตัวอย่าง) ครูให้แรงเสริม-ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม-เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคิดศาสตร์ไปพร้อมๆกัน-เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจได้ด้วยตนเอง(ถ้าจัดกิจกรรมให้สอดคล้องจะเกิดประสิทธิภาพ)หลักการสอนคณิตศาสตร์ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กและขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันในชีวิตประจำวันเด็กมีอะไรบ้างในแต่ละวันเช่น ให้เด็กรินนมครึ่งแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเองเช่น หน่วยกล้วย กล้วย 1 หวี มีกี่ลูกให้เด็กนับ และเด็กกัดกี่คำหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์เพื่อใช้ในการวางแผนกิจกรรม(ต้องไม่ใส่ความรูสึกของครูเข้าไป เช่น น้องบีบี เกิดสงสารจึงแบ่งของให้เพื่อน
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็ก
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เกิดประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้เป็น
การจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจและความสามารถของเด็ก-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเช่นแบบสังเกต เป็นต้น
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 1. การนับ2. ตัวเลช3. การจับคู่4. การจัดประเภท5. การเปรียบเทียบ6. การจัดลำดับ7. รูทรงและเนื้อที่8. การวัด9. เซต10. เศษส่วน11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553
วันนี้เป็นการเรียนการสอนในคาบสุดท้ายค่ะ ซึ่งมีการเรียนการสอนในวันนี้มีลายละเอียด คือ-การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแต่ละหน่วยควรสอนอย่างไร ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ-การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจและความสามารถของเด็ก-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย เช่น แบบสังเกต เป็นต้นและอาจารย์ได้สั่งงานให้เขียนบันทึกครั้งสุดท้ายลงใน blog เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการเขียนบันทึกจากที่ได้เรียนมาทั้งหมดเป็นการสรุป ค่ะสำหรับบรรยากาศในการเรียน ก็เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายอาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนดีเหมือนเดิม อากาศเย็นสบายเอื้อต่อการเรียนรู้ค่ะ
แผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำ
เพลงบาน หุบ
ดอกไม้บาน หุบ บาน หุบ บาน หุบ
ผีเสื้อเบิกบานบินมาไวๆ ดอกไม้แสนสวยชูกลีบไหวๆ
เพลินตาเพลินใจ ดอกไม้แสนงาม
ขั้นสอน
1 ครูนำรูปภาพอาชีพที่เกี่ยวกับดอกกุหลาบมาให้เด็กดูเช่น คนขายพวงมาลัย
ร้านขายดอกไม้ ร้านจัดดอกไม้ ชาวสวนดอกกุหลาบ
2 ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับอาชีพชาวสวนดอกุหลาบ
- แม่ค้าขายดอกไม้เอาดอกกุหลาบมาจากไหน
3 ครูและเด็กช่วยกันจัดดอกกุหลาบให้เด็กดูกัน
- กันจัดดอกกุหลาบใช้ดอกกุหลาบจำนวน 10 ดอก
- การจัดดอกไม้เรียงลำดับสูงตำเพื่อความสวยงาม
ขั้นสรุป
1 ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับอาชีพที่เด็กเคยพบเห็น
2 เด็กและครูช่วยกันจัดดอกกุหลาบเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับร้านจัดดอกไม้
เพลงบาน หุบ
ดอกไม้บาน หุบ บาน หุบ บาน หุบ
ผีเสื้อเบิกบานบินมาไวๆ ดอกไม้แสนสวยชูกลีบไหวๆ
เพลินตาเพลินใจ ดอกไม้แสนงาม
ขั้นสอน
1 ครูนำรูปภาพอาชีพที่เกี่ยวกับดอกกุหลาบมาให้เด็กดูเช่น คนขายพวงมาลัย
ร้านขายดอกไม้ ร้านจัดดอกไม้ ชาวสวนดอกกุหลาบ
2 ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับอาชีพชาวสวนดอกุหลาบ
- แม่ค้าขายดอกไม้เอาดอกกุหลาบมาจากไหน
3 ครูและเด็กช่วยกันจัดดอกกุหลาบให้เด็กดูกัน
- กันจัดดอกกุหลาบใช้ดอกกุหลาบจำนวน 10 ดอก
- การจัดดอกไม้เรียงลำดับสูงตำเพื่อความสวยงาม
ขั้นสรุป
1 ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับอาชีพที่เด็กเคยพบเห็น
2 เด็กและครูช่วยกันจัดดอกกุหลาบเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับร้านจัดดอกไม้
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
บันทึกการเข้าเรียนวันที่10 กุมภาพันธ์ 2553
วันนี้เป็นวันที่พวกเรามีการเรียนการสอนชดเชยค่ะ อาจารย์ให้พวกเรานำเสนอการสอน พร้อมกับแผนการสอน โดยอาจารย์ให้กลุ่ม A หรือB กลุ่มใดก็ได้ออกก่อน แต่อยากให้พวกเราเริ่มตั้งแต่อนุบาล 1 แต่ไม่มีเพื่อนกลุ่มไหนออกก่อน พวกเรากลุ่ม B หน่วย ดอกไม้ อนุบาล 2 เลยออกก่อน พวกเราในกลุ่มตื่นเต้นมากๆค่ะ ต่างคนต่างเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่เตรียมมาให้พร้อม พอถึงคิวของดิฉันที่ต้องสอนหน่วย ประโยชน์ของดอกกุหลาบ เป็นการสอนในวันที่ 3 ค่ะ พอสอนไปได้หน่อยหนึ่งอาจารย์ก็คอมเม้นต์ ว่า เรื่องประโยชน์ของกุหลาบน้อยไป และให้ข้อแนะนำถึงเทคนิคการสอนว่าควรปรับให้เป็นนิทานหรือภาพตัดต่อดีกว่า เพราะสิ่งที่เตรียมมา คือ การทำการ์ดวันวาเลนไทน์จากประโยชน์กลีบกุหลาบ ซึ่งมันควรเป็นกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ไม่ใช่กิจกรรมกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ และอาจารย์ก็ให้ไปแก้ไขแผนการสอนให้สมบรูณ์ พอเพื่อนๆนำเสนอครบ5 วันแล้ว อาจารย์ก็ให้พวกเราไปปรับเปลี่ยนการสอนที่ให้ต่อเนื่องกัน เปรียบเหมือนการเขียนแผนคนเดียวที่เข้าใจและสอดคล้องกัน หลังจากนั้นก็เป็นกลุ่มอนุบาล 1และ 3 อาจารย์ก็ให้คำแนะนำเทคนิคแตกต่างๆออกกันไปค่ะ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในการจัดการเรียนการสอนได้มากมาย เวลาก็ล่วงเลยมาจนถึง 5 โมงเย็นแล้ว เพื่อนๆเริ่มง่วงนอน อยากกลับบ้านกันแล้ว ก็เพราะพวกเราเรียนตั้งแต่เที่ยงจนเย็นนี้แหละ โชคดีมากที่มีประตูเปิดจากคุณป้าแม่บ้าน ให้อาจารย์รีบปล่อยนักศึกษา เพราะวันพุธจะมีการปิดตึกเร็ว อาจารย์ก็เลยให้พวกเรามานำเสนอต่อในวันพรุ่งนี้ตามเวลาเรียนปกติ แล้วอาจารย์ก็ให้พวกเราที่นำเสนอไปแล้วกลับไปแก้ไขแล้วมาให้อาจารย์ตรวจอีกครั้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)