สื่อคณิตศาสตร์

แผนการจัดประสบการณ์

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่พร้อมให้เหตุผล





ตอบ ต่างกัน เพราะ คณิตสำหรับเด็กต้องเรียนรู้เป็นขั้นตอนและสามารถมีกิจกรรมเข้าแทรกในการเรียนการสอนได้อย่างดีหรือมีการปฏิบัติในการทำกิจรรมต่างๆให้ครบ 6 กิจกรรมหลัก แต่เด็กต้องมีพัฒนาการในการนับตัวเลข 1- 10 ได้ ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรและเด็กบ้างคนอ่านได้ชัดเจนแต่เขียนไม่ได้เป็นส่วนมาก สำหรับเด็กประถมศึกษา คณิตสำหรับเด็กประถมมีพัฒนาการที่รวดเร็วและขั้นตอนการสอนตามแบบแผนของอาจารย์นั้นด้วย ด้านคณิตศาสตร์เด็กจะมีพัฒนาการการคิดได้ดีและมีกิจกรรมให้เด็กร่วมกันทำ แต่การเขียนของเด็กประถมจะเขียนตัวเลขได้สวยและถูกต้อง


2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร


ตอบ 1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว


2. เปิดโอกาสให้เด็กพบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี


3. มีเป้าหมายและวางแผนอย่างดี


4. เอาใจใสเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนของพัฒนาการ ความคิดรวบยอด


5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม


6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิม


7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์


8. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก





3. จงเลือกและอธบายสาระทางศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ


ตอบ สาระที่1 การวัด


1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง


2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยมาตราฐาน


3. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบนำหนักของสิ่งต่างๆ


4. การตวงของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่หน่วยมาตรฐาน


5.การเรียงลำดับปริมารตรของสิ่งต่งๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย


สาระที่ 2 เรขาคณิต


1. ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้งขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ


2. การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูปทรง





4. จงอธิบายขั่นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตอบ

แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้

1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ

2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้

4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง

5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่

6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย

7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย

8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น

9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์

10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้
5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม

ตอบ กิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น